ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารสายยาง การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป ก็คือให้อาหารทางสายยางผ่านทางรูจมูกและให้อาหารทางสายยางผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งการให้อาหารทางสายยางมีประโยชน์มากกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ได้รับน้ำที่จะไปนำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อรักษาโรค
สำหรับการให้อาหารทางสายยางจะให้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือมีปัญหาในการกลืนอาหาร โดยแพทย์จะทำการใส่สายยางลงไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง ซึ่งวิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องมีระบบทางเดินอาหารระบบย่อยอาหารที่สามารถทำงานได้ตามปกติ สำหรับอาหารทางสายยางที่จะนำไปให้ผู้ป่วย จะต้องเป็นอาหารที่ครบ 5 หมู่คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่และวิตามิน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีความต้องการหรือต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทหรือไม่ โดยนักโภชนาการจะเป็นผู้จัดทำสูตรอาหาร ซึ่งจะมีความแตกต่างไปในแต่ละบุคคลเพราะผู้ป่วยแต่ละคน มีโรคที่ไม่เหมือนกันและมีร่างกายที่มีการแพ้อาหารที่ต่างกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นการขึ้นกับความสะดวกของการจัดหาวัตถุดิบหรือผลไม้ให้เข้ากับสูตรอาหารด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการให้อาหารทางสายยาง จะต้องมีวิธีการที่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการให้อาหารทางสายยางและช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งการให้อาหารทางสายยางในเรื่องของความสะอาดปลอดภัย ถือเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงให้มากเป็นพิเศษเพราะถ้ามีการให้อาหารที่ไม่สะอาดหรือภาชนะต่าง ๆที่ใช้ในการให้อาหารมีความสกปรก ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆตามมา สำหรับวันนี้เรามีวิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยางเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะอาดและความปลอดภัยมากที่สุด
สำหรับการเตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องคำนึงถึงความสะอาด กล่าวคือ ผู้ดูแลจะต้องล้างมือทุกครั้งก่อนการเตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยาง รวมไปถึงจะต้องทำการจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยก่อนให้อาหารทางสายยางทุกครั้ง ซึ่งขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์มีตอนที่ไม่ยุ่งยากมากนัก โดยการให้อาหารไม่ว่าจะเป็นทั้งวิธีการให้อาหารผ่านทางรูจมูกหรือทางผนังหน้าท้อง จะมีเครื่องมือที่ใช้เหมือนกันและมีวิธีการที่เหมือนกัน
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยางจะประกอบด้วยกระบอกแก้ว สำหรับใส่อาหารขนาด 50 ซีซี อาจจะมีลักษณะเหมือนกระบอกฉีดยาแต่ปลายที่ต่อกับสายยางมีขนาดโตกว่า ซึ่งภาชนะจะต้องมีฝาปิดสำหรับใส่กระบอกแก้ว นอกจากนี้ต้องมีสำลีและแอลกอฮอล์ 70% และที่สำคัญที่ สุดคืออาหารปั่นผสมหรืออาหารเหลวตามสูตรที่แพทย์สั่งที่มีการควบคุมหรือออกแบบสูตรจากนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารต้องมีอุณหภูมิที่อุ่นพอดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างสะดวกและไม่ร้อนจนเกินไป
ในกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาผู้ดูแลควรเตรียมให้เรียบร้อย โดยเตรียมยาตามที่แพทย์สั่งและสุดท้ายคือ น้ำสะอาดสำหรับล้างสายยางให้อาหาร ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยางก็คือจะหากผู้ดูแลถนัดขวาให้เข้าทางด้านขวาของผู้ป่วย ส่วนผู้ที่ถนัดซ้ายให้เข้าทางซ้ายของผู้ป่วย และผู้ดูแลจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม โดยอุปกรณ์ทุกอย่างที่จะนำไปให้อาหารทางสายยางนั้นจะต้องผ่านกระบวนการการฆ่าเชื้อทุกครั้ง โดยการนำไปลวกในน้ำร้อนเพื่อทำการฆ่าเชื้อและหลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการให้อาหาร ผู้ดูแลจะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำการให้อาหารทางสายยางและจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนในท่านอนหงายมีศีรษะสูงและที่สำคัญควรตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารว่าถูกต้องหรือไม่
สำหรับวิธีการตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารว่าอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ วิธีแรกคือผู้ดูแลจะต้องใช้กระบอกสูบดูดน้ำย่อยออกมา ที่ต่อมาคือดันลมจากกระบอกสูบ 5-10 ซีซี ฟังลมที่กระดูกซี่โครง เยื้องไปด้านซ้ายเล็กน้อยและวิธีสุดท้ายคือนำปลายสายยางให้อาหารจุ่มลงในแก้วน้ำ สำหรับขั้นตอนในการให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอหรือขากเอาเสมหะออกมา
แต่สำหรับผู้ป่วยที่ไอเอาเสมหะออกมาไม่ได้ ผู้ดูแลควรช่วยดูดเสมหะในผู้ป่วยก่อนการให้อาหารทุกครั้ง ต่อมาในเรื่องของความสะอาดผู้ดูแลควรล้างมือให้สะอาด เช็ดปลายสายยางให้อาหารด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกแล้วต่อปลายสายยางเข้ากับกระบอกให้อาหาร จากนั้นทดสอบว่ามีอาหารค้างอยู่ภายในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยการดูดอาหารออกมาจากกระเพาะถ้าได้ปริมาณมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปและเลื่อนเวลาให้อาหารออกไป ถ้าน้อยกว่าให้ดันกลับคืนและให้อาหารต่อไปได้ แต่ถ้าดูไม่ได้อะไรออกมาเลยให้สายลม 5 ซีซี ดันเข้าไปในกระเพาะอาหารในขณะที่ดันลม ควรแนบหูฟังเสียงลมผ่านเข้าที่บริเวณลิ้นปี่
ถ้าได้ยินเสียงลมแสดงว่าปลายสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารสามารถทำการให้อาหารต่อไปได้ จากนั้นเทอาหารใส่ลงในกระบอกให้อาหารโดยยกกระบอกสูงกว่าตัวผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้อาหารไหลช้า ๆ และไม่ให้อากาศเข้าได้ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องมีการรับยาหลังอาหา รควรให้น้ำตาม 50 ซีซี พับสายเช็ดปลายสายให้สะอาด ยกปลายสายสูงขึ้น ปิดจุกที่ปลายสายให้แน่นและควรจัดถ้าให้ป่วยนั่งอยู่ในท่าศีรษะสูงหลังให้อาหารนานประมาณ 30 -60 นาที ก่อนที่จะให้นอนราบเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร