ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจขาดเลือด (Heart attack)  (อ่าน 14 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 314
  • รับจ้างโพส ผ่านเวปประกาศ-เวปบอร์ด รับจ้างโพสเว็บ เลื่อนประกาศ ราคาไม่แพง
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจขาดเลือด (Heart attack)
« เมื่อ: วันที่ 4 พฤศจิกายน 2024, 13:18:19 น. »
โรคหัวใจขาดเลือด (Heart attack)

หัวใจขาดเลือด (Heart attack) หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือภาวะที่หัวใจขาดเลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) เมื่อเลือดถูกปิดกั้น อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพและตายลง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

หัวใจขาดเลือดเป็นอาการอันตรายที่ควรใส่ใจ และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากมีสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เช่น แน่นหรือเจ็บหน้าอก หายใจถี่หรือสั้นกว่าปกติ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ควรรีบไปพบแพทย์หรือโทรเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เพราะยิ่งรักษาได้เร็ว ยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมากขึ้น

สาเหตุของหัวใจขาดเลือด

หัวใจขาดเลือดอาจเกิดขึ้นเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง เมื่อหัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงอย่างเหมาะสม กล้ามเนื้อหัวใจอาจเสื่อมสภาพและเริ่มตาย หากไม่ได้รับการรักษา หัวใจอาจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด

โดยโรคหัวใจขาดเลือดอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

    ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะ ST Segment (STEMI) เกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันบางส่วนหรือถูกอุดตันทั้งหมด
    ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation (NSTEMI) มักเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจอุดตันบางส่วนหรือถูกอุดตันทั้งหมด
    ภาวะเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina) โดยอาจพบอาการโรคหัวใจขาดเลือด แต่อาจยังไม่เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งยังคงมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่อาจทำให้เลือดอุดตัน และไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ อาจมีดังนี้

    โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) เป็นภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่เกิดจากคราบพลัคที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือด เมื่อสะสมมาก ๆ เข้าก็จะอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ และทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
    โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของคราบพลัค เช่น คอลเลสเตอรอล ไขมัน เม็ดเลือด และสารอื่น ๆ บริเวณผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดตีบ และเลือดสูบฉีดเลือดได้น้อยลง
    ภาวะหลอดเลือดหัวใจหดตัวอย่างรุนแรง (Coronary Artery Spasm) เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดหัวใจโคโรนารีหดตัวอย่างรุนแรงจนทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจถูกตัดขาด
    ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด (Hypoxia) เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงเนื่องจากได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป อาจทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนอย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย และเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในที่สุด

ทั้งนี้ โรคหัวใจขาดเลือดอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีความเสี่ยงสุขภาพต่าง ๆ เช่น

    พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากขึ้น
    ภาวะคอเลสเตอรอลสูง หากมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีสูง อาจเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และทำให้หลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
    ความดันโลหิตสูง อาจทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
    โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน อาจทำให้ร่างกายเกิดการสะสมไขมันในร่างกายมากผิดปกติ จนก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ
    โรคเบาหวาน หากผู้ป่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และความเสี่ยงจะยิ่งมากขึ้นหากผู้ป่วยมีโรคอ้วน
    การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคปริทันต์อักเสบหรือการติดเชื้อที่ฟัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้
    การสูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่อาจทำให้ผนังหลอดเลือดหนา และทำให้หลอดเลือดตีบหรือถูกอุดกั้น จึงทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดสูง
    การไม่ออกกำลังกายเป็นเวลานานหรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับตัวอาจทำให้ไขมันสะสมตัวและอุดกั้นเส้นเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้

นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่น ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้เช่นกัน เช่น ความเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารแปรรูป หรืออาหารรสจัด

อาการหัวใจขาดเลือด

อาการที่มักพบได้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่

    รู้สึกแน่นและเจ็บหน้าอก และอาจลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายท่อนบนด้านซ้าย ได้แก่ บริเวณกราม คอ หลังหน้าท้อง และแขนส่วนบน โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วหาย แต่จากนั้นอาจกลับมาเป็นอีกครั้ง
    หายใจถี่หรือหายใจสั้น
    วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
    เหงื่อออกขณะที่ร่างกายเย็น
    รู้สึกวิตกกังวลมากผิดปกติ
    ไอ หรือหายใจมีเสียงหวีด
    มีอาการเหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

อาการหัวใจขาดเลือดที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการเข้าข่ายโรคหัวใจขาดเลือด ควรรีบไปพบแพทย์หรือโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นอาการอันตรายที่อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาในทันที


การวินิจฉัยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

แพทย์อาจวินิจฉัยหัวใจขาดเลือดด้วยการตรวจร่างกาย และการซักประวัติถึงอาการ หรือการรักษาต่าง ๆ ที่จำเป็นในการวินิจฉัย และอาจมีการถามถึงประวัติครอบครัวว่ามีใครเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือไม่ จากนั้นแพทย์จะทำการสั่งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีดังต่อไปนี้


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG)

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นวิธีที่ใช้บ่อย โดยแพทย์จะติดแผ่นประจุไฟฟ้าไว้ที่แขน ขา และหน้าอก จากนั้นจะวัดคลื่นไฟฟ้าเพื่อตรวจอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่

วิธีการตรวจนี้อาจช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และระบุประเภทของโรคนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่ช่วยระบุโรคหัวใจขาดเลือดได้ เพราะเมื่อเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด อาจส่งผลให้มีโปรตีนแปลกปลอมจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายรั่วไหลลงไปในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ยิ่งมีโปรตีนเจือปนในเลือดมากเท่าใด ก็ยิ่งบ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยแพทย์อาจเจาะเลือดเพื่อตรวจดูโปรตีนแปลกปลอม เช่น

    การตรวจหาคาร์ดิแอค โทรโปนิน (Cardiac Troponin) เป็นการตรวจหาโปรตีนในเซลล์ที่ช่วยระบุภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเนื่องจากหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
    การตรวจหาครีเอตินไคเนส-เอ็มบี (CK-MB) การตรวจเพื่อหาเอนไซม์ในเลือด ซึ่งจะรั่วลงมาในเลือดเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย


การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography)

แพทย์อาจฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของหัวใจขาดเลือด จากนั้นแพทย์จะทำการเอกซเรย์เพื่อดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบ้างหรือไม่ หากพบความผิดปกติ แพทย์จะรักษาด้วยสอดสายสวนเพื่อเปิดทางให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหาความผิดปกติของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง โดยแพทย์จะใช้อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงเข้าไปกระทบหัวใจออกมาเป็นภาพให้เห็น ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เห็นความเสียหายของหัวใจที่เกิดจากการขาดเลือดได้


การทำซีที สแกน (CT Scan) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI)

แพทย์อาจใช้การตรวจซีที สแกน (CT Scan) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และตรวจดูความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจว่ามีความรุนแรงเท่าใด เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


การรักษาหัวใจขาดเลือด

หัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนจากแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาหัวใจขาดเลือดเองด้วยการใช้สมุนไพรต่าง ๆ หรือใช้เข็มจิ้มปลายนิ้ว เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โดยควรรักษาหัวใจขาดเลือดภายใน 30–60 นาทีหลังจากเกิดอาการ เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไรก็อาจช่วยยับยั้งความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ และช่วยให้พ้นขีดอันตรายได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์อาจทำการรักษาด้วยวิธีเบื้องต้น ดังนี้

    ให้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด
    ให้ยาไนโตรไกลเซอริน (Nitroglycerin) เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
    ให้ออกซิเจน และรักษาอาการแน่นหรือเจ็บหน้าอก

เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป เช่น


การใช้ยา

แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจใช้ยาหลายตัวร่วมกันเพื่อรักษาอาการหัวใจขาดเลือด โดยยาที่มักใช้ได้แก่

    ยาแอสไพริน เป็นยาที่แพทย์นิยมใช้เพื่อรักษาอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในเบื้องต้น โดยยาชนิดนี้จะช่วยลดลิ่มเลือดและทำให้เลือดสามารถไหลเวียนภายในหลอดเลือดที่แคบได้
    ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytics) เป็นยาที่ช่วยละลายลิ่มเลือดที่อุดกั้นการไหลเวียนเลือด หากผู้ป่วยได้รับยาชนิดนี้ภายในระยะเวลาไม่นานหลังจากเริ่มเกิดอาการ อาจช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความเสียหายของหัวใจได้
    ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) คือยาที่ใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และป้องกันไม่ให้ลิ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น
    ยาระงับอาการปวด หากมีอาการแน่นหรือเจ็บหน้าอก แพทย์อาจใช้เพื่อลดอาการปวด ซึ่งต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
    ยาไนโตรไกลเซอริน (Nitroglycerin) ยาดังกล่าวจะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวตีบ โดยยาอาจเข้าไปทำให้หลอดเลือดที่ตีบขยายตัวมากขึ้น และส่งผลดีต่อการไหลเวียนของเลือด
    ยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) ในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด อาจมีการใช้ยานี้เพื่อคลายกล้ามเนื้อหัวใจ ลดความเร็วของอัตราการเต้นหัวใจ และลดความดันโลหิต ซึ่งอาจช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    ยาเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitors) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยยาจะเข้าไปลดระดับความดันโลหิต และช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น


การผ่าตัด

บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปยังหัวใจได้อย่างเพียงพอมากขึ้น โดยแพทย์มักใช้วิธีการผ่าตัดต่าง ๆ เช่น
การทำบอลลูนและการถ่างด้วยขดลวด (Coronary Angioplasty and Stenting)

การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำบอลลูนและการถ่างด้วยขดลวดเป็นการผ่าตัดที่จะนำอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายบอลลูนใส่เข้าไปที่หลอดเลือดหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดบริเวณที่อุดตันหรือตีบ จากนั้น แพทย์อาจนำขดลวดหรือท่อเล็ก ๆ สอดเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ โดยเริ่มจากที่บริเวณขา หรือขาหนีบ เพื่อถ่างหลอดเลือดไว้

โดยวิธีการผ่าตัดนี้สามารถช่วยฟื้นฟูระบบไหลเวียนเลือดให้สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ


การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Surgery)

ในบางกรณีผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อบายพาสหลอดเลือดหัวใจอย่างเร่งด่วน โดยแพทย์จะนำหลอดเลือดดำบริเวณขามาเชื่อมต่อกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเบี่ยงทางไหลเวียนของเลือดข้ามส่วนที่ตีบหรืออุดตัน เมื่อผ่าตัดแล้วระบบไหลเวียนเลือดจะค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติ ทำให้หัวใจกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพของตนเอง และทำตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งผู้ป่วยควรหาวิธีคลายความเครียด เพราะความเครียดอาจยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดหรือได้รับการผ่าตัดหัวใจจำเป็นต้องรักษาในห้อง ICU หรือห้อง ICCU ซึ่งเป็นห้องที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และมักใช้ระยะรักษานานหลายวันจนกว่าอาการจะคงที่


ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจขาดเลือด

ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดส่วนใหญ่มักพบกับภาวะแทรกซ้อนได้ ไม่ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด อาจมีดังนี้

    หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย อาจส่งผลให้กระแสไฟฟ้าที่กระตุ้นการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ นอกจากนี้ หากหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ อาจนำมาสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันและทำให้เสียชีวิตได้
    หัวใจวาย (Heart Failure) เมื่อหัวใจขาดเลือดและออกซิเจน กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนอาจเริ่มตาย และไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ โดยอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการรักษาหัวใจวายและฟื้นฟูความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
    ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ (Cardiogenic Shock) ภาวะช็อกจากโรคหัวใจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย แต่อาจรุนแรงมากกว่า เพราะมักเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
    ผนังกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด (Heart Rupture) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจส่วนต่าง ๆ เช่น ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหรือลิ้นหัวใจเกิดการปริแตก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันหัวใจขาดเลือด

สิ่งสำคัญที่อาจช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ดีที่สุดก็คือการดูแลรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยวิธีการป้องกันหัวใจขาดเลือด อาจดังนี้

    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่ควรรับประทาน เช่น อาหารที่มีไขมันดี ผัก ผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง
    หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมันที่ไม่ดี อาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารแปรรูปต่าง ๆ
    เลิกสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่อาจช่วยให้ระบบหัวใจ หลอดเลือด และปอดทำงานได้ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หากไม่สามารถเลิกได้ด้วยตนเอง
    ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ การควบคุมความเครียดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดได้
    ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักเยอะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เพราะร่างกายอาจมีไขมันสะสมเยอะ และอาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้
    ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพเป็นประจำ เช่น การเล่นแอโรบิก

ทั้งนี้ หากสมาชิกในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรวางแผนรับมือหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยการจดรายละเอียดยาที่ใช้ ยาที่แพ้ และเตรียมหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยแพทย์ฉุกเฉินไว้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรพกข้อมูลติดต่อของคนใกล้ชิดที่สามารถติดต่อได้ทันที เพราะยิ่งได้รับการรักษาเร็ว ก็ยิ่งเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้

 























































เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ