ผ้ากันไฟ 3 ประเภทที่คนไทยนิยมใช้ผ้ากันไฟ คืออะไร ?
ผ้ากันไฟ หรือที่นิยมเรียกว่า ผ้ากันสะเก็ดไฟ,ผ้ากันความร้อน ,ผ้าทนความร้อน,ผ้าทนไฟ, ผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม, ผ้าห่มดับไฟ,ม่านกันสะเก็ดไฟ และอีกหลายชื่อที่นิยมใช้เรียกกัน มีไว้เพื่อใช้เป็นม่านป้องกันสะเก็ดไฟหรือความร้อนไม่ให้ทะลุผ่าน หรือเพื่อใช้เป็นผ้าห่มดับไฟตามครัวเรือน
ผ้าประเภทนี้มักนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสหกรรมที่มีสะเก็ดไฟหรือความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อ เช่น งานเชื่อมเหล็ก ตัดเหล็กทั่วไปที่ต้องการใช้ระบบความปลอดภัยงานซ่อมบำรุงโรงการอุสหกรรมทั่วไป โรงกลั่นน้ำมัน ฉนวนความร้อนหุ้มท่อแก๊สเสีย ฉนวนความร้อนหุ้มฮีทเตอร์ ฉนวนอุสหกรรมต่อเรือ งานปิดปากเตาอบ เป็นต้น
ผ้ากันไฟ 3 ประเภทที่คนไทยนิยมใช้
1.) Fiberglass Cloth
ผ้าใยแก้วอุณหภูมิใช้งาน 550 ํc - 600 ํc ส่วนใหญ่จะใช้ป้องกันสะเก็ดไฟงานเชื่อม เป็นผ้าที่มีการทอแบบต่อเนื่อง มีความหนาแน่นสูง ทนต่อสารคเคมี ไม่ลามไฟ ไม่นำไฟฟ้าหรือความร้อน ไม่เน่าเปลื่อย ไม่เป็นสนิม ไม่มีแร่ใยหินแอสเบสตอสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หรือมะเร็งปอด บางผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการอบผ้าเพื่อไล่ความชื้นและสารอินทรีย์ ทำให้ผ้ามีสีน้ำตาลทอง เพื่อที่จะทำให้สามารถกันความร้อนได้ดีขึ้น
2.) Silica Cloth
ผ้าซิลิก้า อุณหภูมิใช้งาน 1000 ํc - 1100 ํc ผ้าชนิดนี้มีการทอที่ละเอียดและหนาแน่นกว่าผ้าใยแก้ว มีปริมาณซิลิก้า ไม่น้อยกว่า 96% มีความสามารถทนต่อการเสียดสีได้สูง ทนต่อการกัดกร่อนต่างๆ เหมาะสำหรับงานเป่าเหล็ก ตัดเหล็ก สะเก็ดไฟงานเชื่อมที่มีอุณหภูมิสูง ฉนวนหุ้มฮีทเตอร์ หุ้มท่อไอเสีย หุ้มเทอร์ไบท์ และอุตสหกรรมหนักอื่นๆอีกมากมาย
3.) ผ้ากันไฟแบบไม่คัน
โดยส่วนใหญ่ผ้ากันไฟประเภทนี้นั้น มักเป็นผ้าที่ทำจากใยแก้วแล้วนำมาเคลือบด้วยสารต่างๆเช่น ซิลิโคน,PVC,อลูมิเนียมฟอยล์หรือเทฟล่อน เป็นต้น ทำให้ผ้าประเภทนี้มีคุณสมบัติกันน้ำและ ไม่มีฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดอาการคัน มักใช้ป้องกันสะเก็ดไฟจากงานเจียรตัด คลุมวัตถุที่ไม่ต้องการให้โดนประกายไฟ นำมาทำเป็นท่อลมร้อน นำมาตัดเย็บเป็นถุงมือหรือชุดกันความร้อนก็ได้เช่นกัน
คุณสมบัติของผ้ากันไฟ
- ป้องกันหรือกำบังสะเก็ดไฟไม่ให้ทะลุผ่าน
- มีคุณสมบัติที่สามารถป้องไฟที่อุณหภูมิตั้งแต่ 260 ํc -1260 ํc
- ไม่ลามไฟ ไม่น้ำความร้อน ไม่นำไฟฟ้า
- ไม่ผุกร่อน ไม่เน่าเปื่อย ไม่เป็นสนิม
- ไม่มีส่วนผสมของใยหิน – Non Asbestos